วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ

วุ้นชุ่มปาก

น้ำลายเทียมชนิดเจล หรือวุ้นชุ่มปาก อีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริของพ่อหลวง ที่ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



          น้ำลายที่ผลิตออกมาในช่องปากมีหน้าที่สำคัญในการชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก แต่หากน้ำลายถูกผลิตออกมาน้อยลง จะทำให้การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และยังเกิดแผลในปากได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ป่วยหลายคนจึงรับประทานอาหารไม่ได้ เกิดเป็นภาวะทุพโภชนาการตามมา และปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ประสบปัญหาภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย จำนวนไม่น้อยเลย

          มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหลายคนประสบภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย เริ่มจากการขาดน้ำในร่างกาย ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาน้อยลงซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือการทานยาบางชนิด เช่น ยากดประสาท ยาลดความดันโลหิต แต่หากผู้ป่วยหยุดยา การผลิตน้ำลายที่น้อยลงก็จะกลับมาเป็นปกติได้


หากไม่มีน้ำลาย สุขภาพเราจะเป็นอย่างไร?
น้ำลายเทียมมีความสำคัญมาก เพราะหากภายในช่องปากของเราไม่มีน้ำลาย เนื่องมาจากต่อมน้ำลายทำงานได้ไม่ดีพอ หรือไม่ทำงาน จะทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก แสบคอ กระหายน้ำ พูดไม่ชัด ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และทรมานมาก
ใครที่มีโอกาสต้องใช้น้ำลายเทียม?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีบริเวณศีรษะ และลำคอ เช่น มะเร็งในช่องปาก หรืออาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำลาย โรคเบาหวาน โรคภูมิต้านทานต่อต้านตัวเอง เช่น กลุ่มอาการโจเกรน โรคไขข้ออักเสบ โรคลูปัสอีริธีมาโตซัสชนิดทั่วกาย ผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น ยารักษาความดันโลหิต ยาต้านฮิสตามีน ยาต้านอาการเศร้าซึม ยาขับปัสสาวะ ยาอักเสบที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ และอื่นๆอีกมาก รวมถึงการทำงานของท่อน้ำลายที่ผิดปกติจากความเครียดสะสม ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และการขาดน้ำดื่มอย่างเพียงพอ
  อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่มีปัญหาน้ำลายน้อยเป็นการถาวร ที่พบบ่อยก็คือ ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้าและลำคอ ซึ่งการฉายรังสีก่อให้เกิดผลข้างเคียงคือ ทำให้เนื้อเยื่อต่อมน้ำลายฝ่อลีบ และทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำลายน้อยลงมาก ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการปากแห้งขึ้นกับปริมาณรังสีที่ต่อมน้ำลายได้รับในผู้ป่วยแต่ละคน และแม้ว่าการฉายรังสีรักษาจะเสร็จสิ้นไปแล้ว การกลับคืนมาของเนื้อเยื้อต่อมน้ำลายจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปาก





เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องนี้

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงดำเนิน "โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล" ขึ้น เพื่อช่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและได้รับความทุกข์ทรมานในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีอาจารย์ทันตแพทย์หญิง ดร.ดุลยพร ตราชูธรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ทันตแพทย์หญิง ดร.อรุณวรรณ หลำอุบล จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ทำการวิจัยและพัฒนา





น้ำลายเทียมที่พัฒนาขึ้นนี้มีลักษณะเป็นวุ้นใสเหมือนเจล ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า "วุ้นชุ่มปาก (Oral Moisturizing Jelly)" ปัจจุบันผลิตออกมา 2 รสชาติ คือ กลิ่นสตรอว์เบอร์รีและกลิ่นมินต์มะนาว มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำลายที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติมาก เพราะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เป็นกลาง ช่วยสามารถปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อมในช่องปากให้เป็นกลางโดยไม่ก่อให้เกิดการละลายของผิวฟัน และไม่ดึงเอาแร่ธาตุออกจากฟัน 

          อีกทั้ง วุ้นชุ่มปาก ยังมีความปลอดภัย โดยผู้ป่วยสามารถกลืนเพื่อให้ความชุ่มชื้นในลำคอได้ เพราะน้ำลายเทียมชนิดเจลนี้ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทางอาหารให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานโดยไม่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นในช่องปากทั่วไปที่มีวัตถุกันเสียจึงไม่สามารถกลืนลงคอได้

          ทั้งนี้ได้มีการทดสอบวุ้นชุ่มปากกับผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยจากการทดสอบประสิทธิผลในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอและอื่น ๆ ที่มีอาการปากแห้ง โดยให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำลายเทียมชนิดเจลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ และตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดต่าง ๆ พบว่าน้ำลายเทียมชนิดเจลสามารถบรรเทาอาการปากแห้งและอาการแสดงของภาวะปากแห้งแก่ผู้ป่วยได้เมื่อใช้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือ 4 สัปดาห์ และพบว่า มีผู้ป่วยราว 70% ที่น้ำลายเทียมช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้อย่างมาก นอกจากนี้ในแง่คุณภาพน้ำลายของผู้ป่วย พบว่าเมื่อรับประทานน้ำลายเทียมชนิดเจลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ช่วยให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรด-ด่าง และความสามารถในการปรับกรด-ด่างดีกว่าตอนก่อนใช้

อย่างไรก็ดี ทางทีมวิจัยยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่จะได้พัฒนาสูตรต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจลสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับกรด-ด่างในน้ำลายของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้จะพัฒนาให้มีกลิ่นที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานผลิตภัณฑ์นี้เป็นประจำไม่เกิดความเบื่อหน่าย ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้ได้ตามความต้องการมากขึ้น จากนั้นจะผลิตออกมาเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ป่วยต่อไป

          สำหรับโครงการนวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นคำขอจดสิทธิบัตร นับเป็นอีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยประชาชนชาวไทยทุกกลุ่มอย่างแท้จริง


ที่มา
http://health.kapook.com/view159375.html
http://health.sanook.com/5157/

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสื่อการข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์



การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล 

             1ข่าวสาร (Message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทาการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
                    – ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอน นับจานวนได้ และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
                    – ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนและไม่ชัดเจน นับจานวนได้ค่อนข้างยาก และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วในระดับปานกลาง
                    – รูปภาพ (Image) อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ข้อมูลชนิดนี้จะต้องใช้หน่วยความจามาก และต้องอาศัยสื่อสาหรับเก็บข้อมูล
                    – เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วค่อนข้างต่ำ

          2. แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล (sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทาหน้าที่จัดส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนาเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม

          3. สื่อกลางหรือตัวกลาง (Media) เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่นาข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่ สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและแหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

          4. แหล่งรับข่าวสาร (Receiver) หรือเรียกว่า ผู้รับข้อมูล ทาหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้น เป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล

          5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทาให้การดาเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

             6. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล


สื่อกลางแบบใช้สาย
1.สายคู่บิดเกลียว(twisted pair cable) สายนำสัญญาณแต่ละคู่สายเป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงกันภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง นิยมใช้อย่างกว้างขวาง


2.สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่รู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อกเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง(audio-vedio decives) ต่างๆ ภายในบ้านและสำนักงาน

3.สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด


สื่อกลางแบบไร้สาย 
1.อินฟาเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดี (The Infared Data Association : IrDA) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

            


2.ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทีมีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่มนที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆและไม่สะดวกในการวางสายสัญญาณ ซึ่งเสาสัญญาณแต่ละเสาสามารถวางห่างกันได้ถึง 80 กิโลเมตร  ตัวอย่างการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านพื้นผิวดิน



3.คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ(broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆกันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม(Amplitude Modulation : AM) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM)  หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ (WI-FI) และบลูทูท (Bluetooth)

4.ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียม และการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆบนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกเรียกว่า ระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง

แหล่งที่มา
https://jatupornmoollao.wordpress.com/
https://itsme410.wordpress.com/

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้ 
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้  เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ 
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต 
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต 
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ 
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา