วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันคริสมาส

ประวัติวันคริสมาส


          คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas


Image result for ซานต้าคลอส


          เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่าพระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร


           ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย


Image result for พระเยซู


          เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญต่อชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม


แหล่งที่มา
https://hilight.kapook.com/view/18771/25

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ในหลวงรัชกาลที่10, สมเด็จพระบรมฯ

รัชกาลที่ 10
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร


พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เมื่อเวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต


การศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๙ –๒๕๐๕ ที่ประเทศอังกฤษระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๓
หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙

นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำชุดที่ ๕-๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ และทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักรด้วย
เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ปวงชนชาวไทยต่างมีความปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร”
ในมงคลวาระนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณในการพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นจะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อชาติบ้านเมือง และประชาชนชาวไทย เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจพสกนิกรอย่างยิ่ง ดังความว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยเฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”

ความคิดเห็นส่วนตัว
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงเป็นกษัตริย์ผู้มีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน คิดค้นโครงการต่างๆ มากมายเพื่อคนไทย ท่านรักชาวประชายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด และประชาชนก็รักท่านไม่ต่างกัน หลังจากที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย แน่นอนว่าประชาชนคนไทยแทบใจสลาย เสียร่ำไห้เป็นเสียงที่บ่งบอกได้ดีว่าคนไทยรักพระองค์มากเท่าใด อยากอ้อนวอน อยากภาวนาพระเจ้าขอให้ท่านกลับมา เราก็ทำไม่ได้
ตัวดิฉันเองก็รู้สึกไม่ต่างกัน
และเข้าใจดีว่าทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกฏแห่งกรรม
ถึงแม้ว่าเราคนไทยจะสูญเสียกษัตริย์ที่เปรียบเสมือนดวงใจของชาวประชาไป แต่เราก็ยังมีกษัตริย์อีกหนึ่งพระองค์ที่พร้อมดูแลประเทศและรักพวกเราชาวประชาไม่ต่างกัน นั่นก็คือ ในหลวงรัชกาลที่ 10
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ขอบคุณแหล่งที่มา
http://themomentum.co/momentum-feature-kingrama10
http://news.mthai.com/webmaster-talk/525488.html
http://www.posttoday.com/social/royal/468107
http://www.posttoday.com/social/royal/468290

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

สอบปฏิบัติ

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สายมีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างไร

สื่อกลางไร้สาย (Wireless media) 

เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับ และผู้ส่งข้อมูล  แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง  ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย  มีดังนี้

 1) แสงอินฟราเรด (Infrared) 
       คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิรตซ์ หรือความยาวคลื่น 10-3 – 10-6 เมตร เรียกว่า รังสีอินฟราเรด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลื่นความถี่สั้น (Millimeter waves)ซึ่งจะมีย่านความถี่คาบเกี่ยวกับย่านความถี่ของคลื่นไมโครเวฟอยู่บ้าง วัตถุร้อน จะแผ่รังสีอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 10-4 เมตรออกมา ประสาทสัมผัสทางผิวหนังของมนุษย์สามารถรับรังสีอินฟราเรด ลำแสงอินฟราเรดเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสง และสามารถสะท้อนแสงในวัสดุผิวเรียบได้เหมือนกับแสงทั่วไปใช้มากในการสื่อสาร ระยะใกล้ 

Image result for คลื่นแสงอินฟาเรด

2) คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
       วิธี การสื่อสารประเภทนี้จะใช้การส่งคลื่นไปในอากาศ เพื่อส่งไปยังเครื่องรับวิทยุโดยรวมกับคลื่นเสียงมีความถี่เสียงที่เป็นรูป แบบของคลื่นไฟฟ้า ดังนั้นการส่งวิทยุกระจายเสียงจึงไม่ต้องใช้สายส่งข้อมูล และยังสามารถส่งคลื่นสัญญาณไปได้ระยะไกล ซึ่งจะอยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 104 - 109 เฮิรตซ์ ดังนั้ัน เครื่องรับวิทยุจะต้องปรับช่องความถี่ให้กับคลื่นวิทยุที่ส่งมา ทำให้สามารถรับข้อมูลได้อย่างชัดเจน


3) สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)
       เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ - ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง ซึ่งจะอยู่ในช่วงความถี่ 108 - 1012 เฮิรตซ์

Image result for คลื่นไมโครเวฟ

4) ดาวเทียม (satilite)
       ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ - ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก วัตถุประสงค์ในการสร้างดาวเทียมเพื่อเป็นสถานีรับ - ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ในการส่งสัญญาณดาวเทียมจะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับ และส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลก 22,300 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณ จากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ โดยอาศัยพลังงานที่ได้มาจากการเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย แผงโซลาร์ (solar panel)

Image result for การสื่อสารแบบดาวเทียม

5) บลูทูธ (Bluetooth)
       
ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายที่น่าจับตามองเป็นอย่าง ยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจาก เทคโนโลยี บลูทูธ มีราคาถูก ใช้พลังงานน้อย และใช้เทคโนโลยี short – range ซึ่งในอนาคต จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนา เพื่อนำไปสู่การแทนที่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สาย เคเบิล เช่น Headset สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ฺิิิ เทคโนโลยีการเชื่อมโยงหรือการสื่อสารแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้น เป็นเทคโนโลยีของอินเตอร์เฟซทางคลื่นวิทยุ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารระยะใกล้ที่ปลอดภัยผ่านช่องสัญญาณความถี่ 2.4 Ghz โดยที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดของการใช้สายเคเบิลในการเชื่อมโยงโดยมี ความเร็วในการเชื่อมโยงสูงสุดที่ 1 mbp ระยะครอบคลุม 10 เมตร เทคโนโลยีการส่งคลื่นวิทยุของบลูทูธจะใช้การกระโดดเปลี่ยนความถี่ (Frequency hop) เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะใช้กับการส่งคลื่นวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำและ ราคาถูก โดยจะแบ่งออกเป็นหลายช่องความถึ่ขนาดเล็ก ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนช่องความถึ่ที่ไม่แน่นอนทำให้สามารถหลีกหนีสัญญา นรบกวนที่เข้ามาแทรกแซงได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีบลูทูธ ต้องผ่านการทดสอบจาก Bluetooth SIG (Special Interest Group) เสียก่อนเพื่อยืนยันว่ามันสามารถที่จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์บลูทูธตัวอื่นๆ และอินเตอร์เน็ตได้



ความคิดเห็น :
ในการเชื่อมต่อแบบไร้สายทำให้เราสามารถมีชีวิตประจำวันที่สะดวกสบายมากขึ้น เป็นการสื่อสารที่รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ทำให้เราทันต่อสถานการณ์ต่างๆ สามารถพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลข่าวสารนั้นๆ จะส่งไปหาผู้รับภายในเวลาไม่ถึงนาที ต่างจากสมัยก่อนที่ต้องส่งจดหมายที่ใช้เวลาเป็นเดือนๆ

และในประเทศชาติ การสื่อสารนี้ยังสำคัญต่อการทำงานของข้าราชการต่างๆ เช่น การส่งหนังสือทางราชการ อีกทั้งการสื่อสารนี้ยังใช้สำรวจภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมในประเทศนั้นๆ เป็นแหล่งข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา สามารถบอกข่าวสารหรือภัยอันตรายให้กับเราได้ทันการณ์

การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิเตอร์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น จึงเรียกกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ข่าวสาร ผู้ส่ง ผู้รับ สื่อกลาง โพรโตคอล และซอฟแวร์ โดยมีสื่อกลางทางกายภาพและสื่อกลางไร้สาย ทำหน้าที่ประสานถ่ายโอนข้อมูลในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ


ที่มา
https://sites.google.com/site/41238pb/sux-klang-prapheth/sux-klang-prapheth-ri-say-wireless-media

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สิ่งประดิษฐ์จากพลาสติก

DIY

กล่องใส่กระดาษทิชชู่ จาก ขวดน้ำอัดลมพลาสติก








 วัสดุอุปกรณ์
  1. ขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 1 ลิตร
  2. ดินเยื่อกระดาษ
  3. สีผสมอาหาร หรือสีอคริลิคก็ได้
  4. มีด กรรไกร






มาเริ่มทำกันดีกว่า . .  







ขั้นตอนการทำ

1.ล้างขวดให้สะอาด ตากให้แห้ง จากนั้นนำขวดมาตัดด้านท้ายออกเพื่อให้สามารถใส่กระดาษทิชชู่ได้ 

2.นำดินเยื่อกระดาษ มาผสมสี ตามที่ต้องการ แล้วมาทำตามแบบติดลงไปที่รอบขวด ตามตัวอย่างจะเป็นการทำเป็นบ้านหรืออาจทำเป็นแบบอื่นได้ เช่น ชายทะเล ก็ได้









3.เจาะรูด้านบนสำหรับร้อยเชือก






4.รอให้ดินแห้ง 24 ชั่วโมง


เสร็จแล้ว!!   













ที่มา
https://jcwings.blogspot.com/2015/06/diy_29.html

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Doraemon

Doraemon



ประวัติ

โดราเอมอน หรือ โดเรม่อน ถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับกการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊งขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น)

จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิในวัยเด็กเขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก

แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพจากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน

แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้างและไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอทราบว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่ทว่าโดราเอมอนหยิบผิดกินยาโศกเศร้าแทน ทำให้โศกเศร้ากว่าเดิมและเริ่มร้องไห้ไม่หยุด จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่าที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดและกลัวหนูเป็นอย่างมาก ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก

นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อ โดรามี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วนจึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ


โดเรม่อน ตอน กำเนิดโดเรม่อน




จุดกำเนิดของ Doraemon



วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2512 เป็นวันที่เริ่มต้นพิมพ์หนังสือการ์ตูนเรื่อง "Doraemon" ในประเทศญี่ปุ่น โดยจินตนาการของนักเขียนชาวญี่ปุ่นสองคน ที่ใช้นามปากการ่วมกันว่า ฟูจิโกะ ฟุจิโอะ โดยตัวการ์ตูนจะเป็นเรื่องราวของหุ่นยนต์ในโลกอนาคต ศตวรรษที่ 22 ซึ่งจินตนาการให้เป็นแมวตัวกลมๆ มีความสามารถพิเศษ และกระเป๋าวิเศษที่บรรจุของมากมาย จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ชาย ที่ขี้แย ไม่เอาไหน คนนึง และสอดแทรกคติธรรมเข้าไป ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก


ชื่อโดราเอมอน มาจากคำว่า โดราเนโกะ แปลว่า แมวหลงทาง เอมอน เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อน โดราเอมอน เกิดขึ้นโดยความบังเอิญในขณะที่ 2 นักเขียนการ์ตูนชื่อฮิโรชิ ฟูจิโมโต และโมโตโอะ อาบิโกะขณะที่กำลังจินตนาการ สร้างการ์ตูนตัวใหม่ด้วยความลำบาก และกดดัน เนื่องจากเหลือเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงจะถึงกำหนดส่งต้นฉบับ 

บังเอิญเหลือบเห็นตุ๊กตาของลูกสาว ทำให้นึกต่อไปถึงตุ๊กตา แมว ล้มลุก และกลายเป็นโดราเอมอนในที่สุด

การ์ตูนเรื่องโดราเอม่อน มีจุดเด่นในเรื่องของจินตนาการ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ในโลกอนาคตที่ผู้อ่านทั่วไปคาดไม่ถึง จากปลายปากกาของ อ. ทั้งสอง ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมพร้อมทั้งสอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเข้าไปในตัวการ์ตูน แบ่งลักษณะนิสัยของคนออกมาในแต่คาแร็คเตอร์ได้อย่างลงตัว เหมือนกับนำเอาชีวิตจริงของผู้อ่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ์ตูนด้วยดังนั้นการ์ตูนเรื่องนี้จึงเป็นที่นิยม อ่านได้ทุกเพศทุกวัย จนทำให้มีการพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้มากมาย สามารถขายได้ถึง 100 ล้านเล่มใน ญี่ปุ่น และแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก ถึง 9 ภาษา


จากหนังสือสู่อนิเมชั่น...

เนื่องจากได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้โดเรม่อนถูกสร้างขึ้นในแบบฉบับการ์ตูนทีวี มีความยาวต่อตอนราวๆ 25 นาทีพร้อมกับสอดแทรกข้อคิดต่างๆ โดยมีการปรับปรุงลายเส้นและเนื้อหาบางส่วนเรื่อยมาเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน

และยังทำเป็นฉบับภาพยนตร์ ที่เรียกว่า โดราเอมอนเดอะมูฟวี่ มีความยาวเรื่องราวๆ 1 ชั่วโมง 45 นาที ซึ่งในปัจจุบันโดราเอมอนเดอะมูฟวี่มีถึง 37 ตอน ได้แก่

1. ไดโนเสาร์ของโนบิตะ ค.ศ. 1980
2. ตะลุยจักรวาล ค.ศ. 1981
3. บุกแดนมหัศจรรย์ ค.ศ. 1982
4. ผจญภัยใต้สมุทร ค.ศ. 1983
5. โนบิตะท่องแดนเวทมนตร์ ค.ศ. 1984
6. สงครามอวกาศ ค.ศ. 1985
7. สงครามหุ่นเหล็ก ค.ศ. 1986
8. บุกแดนใต้พิภพ ค.ศ. 1987
9. ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว ค.ศ. 1988
10. ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ ค.ศ. 1989
11. ตะลุยดาวต่างมิติ ค.ศ. 1990
12. ตะลุยแดนอาหรับราตรี ค.ศ. 1991
13. บุกอาณาจักรเมฆ ค.ศ. 1992
14. ฝ่าแดนเขาวงกต ค.ศ. 1993
15. สามอัศวินในจินตนาการ ค.ศ. 1994
16. ตำนานการสร้างโลก ค.ศ. 1995
17. ผจญภัยสายกาแล็คซี่ ค.ศ. 1996
18. ผจญภัยเมืองในฝัน ค.ศ. 1997
19. ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ ค.ศ. 1998
20. ตะลุยอวกาศ ค.ศ. 1999
21. ตำนานสุริยกษัตริย์ ค.ศ. 2000
22. โนบิตะและอัศวินแดนวิหค ค.ศ. 2001
23. โนบิตะตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ ค.ศ. 2002
24. โนบิตะผจญภัยดินแดนแห่งสายลม ค.ศ. 2003
25. โนบิตะท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว ค.ศ. 2004
26. ไดโนเสาร์ของโนบิตะ ค.ศ. 2006
27. โนบิตะตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษ ค.ศ. 2007
28. โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา ค.ศ. 2008
29. โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ค.ศ. 2009
30. สงครามเงือกใต้สมุทร ค.ศ. 2010
31. โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก ค.ศ. 2011
32. โนบิตะผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ ค.ศ. 2012
33. โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ ค.ศ. 2013
34. โนบิตะบุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ ค.ศ. 2014
35. โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ ค.ศ. 2015
36. ผจญภัยดินแดนญี่ปุ่นโบราณ ค.ศ. 2016
37. โนบิตะผจญภัยในแอนตาร์กติกแห่งคะจิโคะจิ ค.ศ 2017

[trailer] โนบิตะผจญภัยในแอนตาร์กติดแห่งคะจิโคะจิ
(ซึ่งจะเข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 4 มีนาคม 2017 ที่จะถึงนี้)


นอกจากนี้ยังมีฉบับ ภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอนเรื่่องยาว เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบสามมิติเป็นครั้งแรกของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ โดยได้หยิบยกโดราเอมอนตอนปกติจากหนังสือการ์ตูนนำมาสร้าง เพื่อฉลองในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 80 ปี ของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ กำกับและประพันธ์บทภาพยนตร์โดย ทะกะชิ ยะมะซะกิ ผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสเปเชียลเอฟเฟคต์และการสร้างภาพเสมือนจริงที่ประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่อง ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม และกำกับภาพยนตร์ร่วมกับ ริวอิจิ ยางิ


ภาพยนตร์ชุดนี้เข้าฉายในระบบ 3 มิติ ออกฉายในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ฉายปีเดียวกันกับโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ตอน บุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ เรื่องนี้สามารถทำรายได้ติดอันดับหนึ่งใน Box Office ติดต่อกันเป็นสัปดาห์และทำรายรับรวมในระดับสากลที่ 86.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของประเทศญี่ปุ่น




ที่มา
http://www.unigang.com/Article/6834
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5_%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ

วุ้นชุ่มปาก

น้ำลายเทียมชนิดเจล หรือวุ้นชุ่มปาก อีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริของพ่อหลวง ที่ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



          น้ำลายที่ผลิตออกมาในช่องปากมีหน้าที่สำคัญในการชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก แต่หากน้ำลายถูกผลิตออกมาน้อยลง จะทำให้การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และยังเกิดแผลในปากได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ป่วยหลายคนจึงรับประทานอาหารไม่ได้ เกิดเป็นภาวะทุพโภชนาการตามมา และปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ประสบปัญหาภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย จำนวนไม่น้อยเลย

          มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหลายคนประสบภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย เริ่มจากการขาดน้ำในร่างกาย ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาน้อยลงซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือการทานยาบางชนิด เช่น ยากดประสาท ยาลดความดันโลหิต แต่หากผู้ป่วยหยุดยา การผลิตน้ำลายที่น้อยลงก็จะกลับมาเป็นปกติได้


หากไม่มีน้ำลาย สุขภาพเราจะเป็นอย่างไร?
น้ำลายเทียมมีความสำคัญมาก เพราะหากภายในช่องปากของเราไม่มีน้ำลาย เนื่องมาจากต่อมน้ำลายทำงานได้ไม่ดีพอ หรือไม่ทำงาน จะทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก แสบคอ กระหายน้ำ พูดไม่ชัด ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และทรมานมาก
ใครที่มีโอกาสต้องใช้น้ำลายเทียม?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีบริเวณศีรษะ และลำคอ เช่น มะเร็งในช่องปาก หรืออาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำลาย โรคเบาหวาน โรคภูมิต้านทานต่อต้านตัวเอง เช่น กลุ่มอาการโจเกรน โรคไขข้ออักเสบ โรคลูปัสอีริธีมาโตซัสชนิดทั่วกาย ผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น ยารักษาความดันโลหิต ยาต้านฮิสตามีน ยาต้านอาการเศร้าซึม ยาขับปัสสาวะ ยาอักเสบที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ และอื่นๆอีกมาก รวมถึงการทำงานของท่อน้ำลายที่ผิดปกติจากความเครียดสะสม ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และการขาดน้ำดื่มอย่างเพียงพอ
  อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่มีปัญหาน้ำลายน้อยเป็นการถาวร ที่พบบ่อยก็คือ ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้าและลำคอ ซึ่งการฉายรังสีก่อให้เกิดผลข้างเคียงคือ ทำให้เนื้อเยื่อต่อมน้ำลายฝ่อลีบ และทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำลายน้อยลงมาก ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการปากแห้งขึ้นกับปริมาณรังสีที่ต่อมน้ำลายได้รับในผู้ป่วยแต่ละคน และแม้ว่าการฉายรังสีรักษาจะเสร็จสิ้นไปแล้ว การกลับคืนมาของเนื้อเยื้อต่อมน้ำลายจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปาก





เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องนี้

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงดำเนิน "โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล" ขึ้น เพื่อช่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและได้รับความทุกข์ทรมานในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีอาจารย์ทันตแพทย์หญิง ดร.ดุลยพร ตราชูธรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ทันตแพทย์หญิง ดร.อรุณวรรณ หลำอุบล จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ทำการวิจัยและพัฒนา





น้ำลายเทียมที่พัฒนาขึ้นนี้มีลักษณะเป็นวุ้นใสเหมือนเจล ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า "วุ้นชุ่มปาก (Oral Moisturizing Jelly)" ปัจจุบันผลิตออกมา 2 รสชาติ คือ กลิ่นสตรอว์เบอร์รีและกลิ่นมินต์มะนาว มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำลายที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติมาก เพราะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เป็นกลาง ช่วยสามารถปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อมในช่องปากให้เป็นกลางโดยไม่ก่อให้เกิดการละลายของผิวฟัน และไม่ดึงเอาแร่ธาตุออกจากฟัน 

          อีกทั้ง วุ้นชุ่มปาก ยังมีความปลอดภัย โดยผู้ป่วยสามารถกลืนเพื่อให้ความชุ่มชื้นในลำคอได้ เพราะน้ำลายเทียมชนิดเจลนี้ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทางอาหารให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานโดยไม่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นในช่องปากทั่วไปที่มีวัตถุกันเสียจึงไม่สามารถกลืนลงคอได้

          ทั้งนี้ได้มีการทดสอบวุ้นชุ่มปากกับผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยจากการทดสอบประสิทธิผลในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอและอื่น ๆ ที่มีอาการปากแห้ง โดยให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำลายเทียมชนิดเจลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ และตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดต่าง ๆ พบว่าน้ำลายเทียมชนิดเจลสามารถบรรเทาอาการปากแห้งและอาการแสดงของภาวะปากแห้งแก่ผู้ป่วยได้เมื่อใช้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือ 4 สัปดาห์ และพบว่า มีผู้ป่วยราว 70% ที่น้ำลายเทียมช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้อย่างมาก นอกจากนี้ในแง่คุณภาพน้ำลายของผู้ป่วย พบว่าเมื่อรับประทานน้ำลายเทียมชนิดเจลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ช่วยให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรด-ด่าง และความสามารถในการปรับกรด-ด่างดีกว่าตอนก่อนใช้

อย่างไรก็ดี ทางทีมวิจัยยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่จะได้พัฒนาสูตรต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจลสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับกรด-ด่างในน้ำลายของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้จะพัฒนาให้มีกลิ่นที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานผลิตภัณฑ์นี้เป็นประจำไม่เกิดความเบื่อหน่าย ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้ได้ตามความต้องการมากขึ้น จากนั้นจะผลิตออกมาเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ป่วยต่อไป

          สำหรับโครงการนวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นคำขอจดสิทธิบัตร นับเป็นอีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยประชาชนชาวไทยทุกกลุ่มอย่างแท้จริง


ที่มา
http://health.kapook.com/view159375.html
http://health.sanook.com/5157/

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสื่อการข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์



การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล 

             1ข่าวสาร (Message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทาการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
                    – ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอน นับจานวนได้ และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
                    – ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนและไม่ชัดเจน นับจานวนได้ค่อนข้างยาก และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วในระดับปานกลาง
                    – รูปภาพ (Image) อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ข้อมูลชนิดนี้จะต้องใช้หน่วยความจามาก และต้องอาศัยสื่อสาหรับเก็บข้อมูล
                    – เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้และสามารถส่งผ่านระบบสื่อสารด้วยความเร็วค่อนข้างต่ำ

          2. แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล (sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทาหน้าที่จัดส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนาเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม

          3. สื่อกลางหรือตัวกลาง (Media) เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่นาข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่ สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและแหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

          4. แหล่งรับข่าวสาร (Receiver) หรือเรียกว่า ผู้รับข้อมูล ทาหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้น เป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล

          5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทาให้การดาเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

             6. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล


สื่อกลางแบบใช้สาย
1.สายคู่บิดเกลียว(twisted pair cable) สายนำสัญญาณแต่ละคู่สายเป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงกันภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง นิยมใช้อย่างกว้างขวาง


2.สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่รู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อกเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง(audio-vedio decives) ต่างๆ ภายในบ้านและสำนักงาน

3.สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด


สื่อกลางแบบไร้สาย 
1.อินฟาเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดี (The Infared Data Association : IrDA) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

            


2.ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทีมีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่มนที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆและไม่สะดวกในการวางสายสัญญาณ ซึ่งเสาสัญญาณแต่ละเสาสามารถวางห่างกันได้ถึง 80 กิโลเมตร  ตัวอย่างการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านพื้นผิวดิน



3.คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ(broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆกันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม(Amplitude Modulation : AM) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM)  หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ (WI-FI) และบลูทูท (Bluetooth)

4.ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียม และการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆบนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกเรียกว่า ระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง

แหล่งที่มา
https://jatupornmoollao.wordpress.com/
https://itsme410.wordpress.com/